วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เครื่องสำอาง

ประวัติองค์กร

เมื่อปี พ.ศ. 2540 ECT เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมากในด้านการผลิตเครื่องสำอาง เป็นอันดับหนึ่งของประเทศที่มีการแพร่หลายจนถึงปัจจุบันนี้ และมีการขยายสาขาต่าง ๆ เข้าไปทั่วประเทศ และในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตตัวสินค้าใหม่ ๆ ไว้อย่างมากมาย ให้กับผู้บริโภคเพื่อขยายความสามารถและประสิทธิภาพของตัวสินค้า ซึ่งได้ผ่านการพิสูจน์จากการทำงานของบริษัท ECTแล้ว ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเชื่อถือ และทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจต่อตัวสินค้า จึงทำให้บริษัทได้มีความคล่องตัวและสะดวกต่อการโฆษณาในตัวสินค้าเพิ่มมากขึ้น

ผู้ก่อตั้ง
กิจการเครื่องสำอาง คือ เดย์วิค แวร์ ในปี 2540 ภายใต้ชื่อบริษัทว่า ECT เริ่มก่อตั้งพนักงานเพียง 6 คน ผลงานของบริษัทเป็นเครื่องสำอางประเภทด้านผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ เพื่อแสดงความเป็น 1 ของบริษัท ECT และ อีซีทีได้ให้การสนับสนุนเครื่องสำอางอันดับโลกและทำให้ผู้ใช้บริการทั่วโลกสามารถรับรู้รายละเอียดได้ที่ www.ECT.com เกี่ยวกับเครื่องสำอางของบริษัท อีซีทีได้อย่างทั่วถึง

ประเภทของสินค้า คือ โฟมล้างหน้า โลชั่น แป้งตลับ ลิปสติก ครีม

วัตถุประสงค์


1.เพื่อศึกษาระบบการขายเครื่องสำอางด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2.เพื่อศึกษาถึงข้อมูลการขายเครื่องสำอางในชนิดต่างๆ
3.เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคในการบริโภคเครื่องสำอาง
4.ศึกษาการบรรลุเป้าหมายของผู้บริโภคที่ใช้เครื่องสำอาง


ขอบเขตของการศึกษาและวิจัย
โลชั่น โฟมล้างหน้า แป้งตลับ ลิปสติก

ประโยชน์
ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถรู้ถึงระบบการขายเครื่องสำอางด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2. สามารถรู้ถึงข้อมูลการขายเครื่องสำอางในชนิดต่างๆ
3. สามารถวัดระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคในการบริโภคเครื่องสำอาง
4. สามารถรู้ถึงการบรรลุเป้าหมายของผู้บริโภคที่ใช้เครื่องสำอาง



วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550

IBM

ความเป็นมาของ IBM eServer

IBM เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านเซอร์เวอร์เป็นอันดับหนึ่งในโลก ที่เสนอการตัดโอนข้อมูล แอบพลิเคชันบนเว็บ และเซอร์เวอร์ที่ตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรมได้ครบวงจร จากการที่ได้รับแรงขับดันด้วยเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า อาทิเช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของลวดทองแดงและซิลิกอนบนฉนวน ทำให้เซอร์เวอร์ของ IBM สามารถไล่ตามอุตสาหกรรมที่เป็นผู้นำในเบนช์มาร์ค (benchmark) ที่วัดกันด้วยอัตราเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้ ความสามารถของการให้บริการบนเว็บและประสิทธิภาพของแอบพลิเคชันของซอฟต์แวร์ไลน์ eserver ของ IBM จะรวมเอาโซลูชันต่าง ๆ ที่สามารถปรับได้ตามใจชอบ มีความยืดหยุ่น และขยายสเกลได้เอาไว้ด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสำหรับบริษัททุกขนาด นอกจากนี้ IBM ยังสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Linux บนพอร์ตโฟลิโอทั้งหมดของเซอร์เวอร์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e–business servers)
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2545 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส บริษัท Cirpack และ IBM ได้ประกาศข้อตกลงในการผสมผสานเทคโนโลยีทั้งนี้เพื่อที่จะนำเสนอแพล็ตฟอร์ม Carrier–Class SoftSwitch ที่มีพละกำลังสูงที่สุดให้แก่ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่ต้องการสร้างเน็ตเวิร์คเจนเนอเรชันใหม่ (NGN)
ซอฟต์สวิตซ์ HVS ของ Cirpack ประกอบอยู่ในคลัสเตอร์ (cluster) ของ IBM eserver รุ่น xSeries ซึ่งรันแอบพลิเคชันของซอฟต์สวิตซ์ Class–5 ของ Cirpack บนระบบปฏิบัติการ Linux ซึ่งโซลูชันของ Cirpack/IBM นี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ดำเนินการเพื่อใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเจนเนอเรชันใหม่ได้ดี สามารถให้บริการด้านเสียง (voice service) อันชาญฉลาดผ่านลูปท้องถิ่นทั่วไปและแบบความยาวคลื่นกว้าง (Broadband) อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้เป็นอย่างมาก
“ประสบการณ์อันยาวนานของบริษัท Cirpack ในด้านอุปกรณ์ TDM และเทเลโฟนีแบบแพคเก็ต ช่วยให้เรารู้ซึ้งถึงความต้องการของผู้ให้บริการได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย ความทนทานและความรวดเร็วในการให้บริการใหม่ ๆ” ชอง-ปิแอร์ ดูโมลาร์ด ประธานผู้จัดการทั่วไปบริษัท Cirpack กล่าว “ด้วยข้อตกลงนี้จะทำให้บริษัท Cirpack และ IBM เป็นผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียวที่สามารถมอบเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับโนด (node) และโครงสร้างพื้นฐานเจนเนอเรชันใหม่ที่ผู้ดำเนินการกำลังเสาะแสวงหาอยู่ ซอฟต์สวิตซ์ของเราสามารถที่จะเพิ่มสเกลจนสามารถรองรับและจัดการการใช้โทรศัพท์ได้หลายล้านเลขหมายต่อชั่วโมง (BHCA) และโหมด E1 ได้หลายพันโนด”
“ในการเลือกวางซอฟต์สวิตซ์ Carrier–Class อันชาญฉลาดนี้ไว้บนเซอร์เวอร์ xSeries ของ IBM บริษัท Cirpack จึงกลายเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่นำหน้าที่สุดในตลาด" ปาสกาล ดูกงเชต์ ผู้จัดการ eServer ภาคพื้นยุโรปของ IBM กล่าว “เซอร์เวอร์เหล่านี้ได้สร้างจากสถาปัตยกรรEnterprise X–Architecture ซึ่งใช้ความเชี่ยวชาญของเมนเฟรมของ IBM เพื่อขยายความสามารถและประสิทธิภาพให้ล้ำหน้ากว่าเซอร์เวอร์อื่นที่ใช้สถาปัตยกรรมของ Intel อีกทั้งยังนำความเชื่อมั่นในระดับสูงและยังสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมหาศาล”
ดูกงเชต์ยังกล่าวเสริมอีกว่า “การผสมผสานระหว่างเซอร์เวอร์ของ IBM รุ่น xSeries และเทคโนโลยีซอฟต์สวิตซ์ของ Cirpack ที่ได้ผ่านการพิสูจน์การทำงานในด้านนี้มาแล้วจะสามารถช่วยผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมให้สามารถแย่งชิงความเป็นผู้นำในตลาดโทรคมนาคมกลับมาได้ ด้วยโซลูชันของ Cirpack/IBM นี้จะทำให้ผู้ดำเนินการด้านโทรคมนาคมสามารถเสนอบริการที่มีมูลค่าเพิ่มอื่น ๆ ได้ด้วยการลงทุนที่ต่ำ เพียงแค่ลงทุนซึ้อเซอร์เวอร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์บนระบบปฏิบัติการ Linux ที่มีความคล่องตัวและเซอร์เวอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรม Intel มาตรฐานโรงงานทั่วไปเท่านั้น”
ซอฟต์สวิตซ์ความเร็วสูง (HVS) ของ Cirpack เป็นซอฟต์สวิตซ์ที่สามารถรองรับความถี่ในการใช้โทรศัพท์ต่อชั่วโมง (BHCA : Busy Hour Call Attempts) ได้มากถึงหลายล้านครั้งต่อชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถให้บริการทั้งแบบทรานสิตหรือการแลกเปลี่ยนท้องถิ่นได้ นอกจากนี้ ระบบนี้ยังสามารถที่จะขยายสเกลได้อย่างคล่องตัว ซึ่งจะทำให้ผู้ดำเนินการ “ลงทุนเท่าที่จำเป็นต้องขยาย” มากกว่าการที่จะลงทุนเผื่อการขยายกิจการทีเดียวด้วยงบก้อนโตล่วงหน้า
ซอฟต์สวิตซ์ HVS ของ Cirpack จะฝังอยู่ในคลัสเตอร์ของ IBM รุ่น xSeries เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพสูงและไว้วางใจได้ ด้วยความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบเซอร์เวอร์ประสิทธิภาพสูงของ IBM มาหลายทศวรรษ นับตั้งแต่เมนเฟรมไปจนถึงเซอร์เวอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรมของ Intel ซึ่งหมายความว่าเซอร์เวอร์ IBM xSeries นี้เป็นเซอร์เวอร์ในอุดมคติที่จะใช้สร้างโซลูชันระบบ “Carrier–Class”
ซอฟต์สวิตซ์ HVS ของ Cirpack มีจำหน่ายแล้วในขณะนี้และสามารถใช้ร่วมกับเกตเวย์มีเดีย/ส่งสัญญาณรุ่น G16 หลายตัว เพื่อใช้ทดแทนสวิตซ์ทรานสิตทั่ว ๆ ไปและสวิตซ์แลกเปลี่ยนท้องถิ่น TDM ด้วยเงินงบลงทุนเพียงครึ่งเดียว และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายเหลือหนึ่งในสามเท่านั้น การนำเอาซอฟต์สวิตซ์ HVS ของ Cirpack มาใช้ร่วมกับเกทเวย์ดังกล่าวจะทำให้ผู้ดำเนินการสามารถให้บริการเทเลโฟนีสากล อาทิเช่น VoDSL, VoIP, VoWLL, VoCable, ISDN ทั้งแบบ BRI และ PRI ได้

ผู้ก่อตั้ง IBM
เมื่อ Louis Gerstner ขึ้นกุมบังเหียน IBM ในตำแหน่ง CEO ในปี 1993 นั้น IBM อยู่ในสภาพบาดเจ็บสาหัส เงินกำลังไหลออกจากบริษัทแทบหมดตัว วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้ทุกคนคิดถึงแต่ตัวเองเป็นหลักกำลังทำร้ายบริษัทอย่างรุนแรง และบริษัทกำลัง เพลี่ยงพล้ำเสียทีแก่บริษัทเล็กๆ ที่สามารถผลิตสินค้าที่เหมือนกันแต่ในเวลาที่รวดเร็วกว่าซ้ำยังมีราคาถูกกว่า Wall Street กำลังเรียกร้องให้ IBM แตกตัวออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อยๆ ที่ไม่ขึ้นต่อกัน แต่ Gerstner มีแผนอื่นอยู่ในใจก่อนแล้ว เขาตั้งใจที่จะรักษา IBM ให้เป็น ปึกแผ่นอย่างเดิม แต่ต้องเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจของ IBM เสียใหม่ และต้องแสดงให้เห็นว่า IBM สามารถจะต่อรองและเอาชนะคู่แข่งตัวเล็กๆ ที่เป็นบริษัทเกิดใหม่และบริษัทเล็กๆ ได้ Louis Gerstner เชื่อว่า ช้างตัวอ้วนใหญ่อย่าง IBM ก็สามารถจะเต้นรำได้อย่างอ่อนช้อยสวยงามไม่แพ้คู่แข่งตัวกระจ้อยร่อย และเขาคิดถูก CEO คนใหม่เริ่มงานหลังรับตำแหน่ง Gerstner ก็ได้พบกับ Corporate Management Board ของ IBM ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงสุดทั้งหมดของ IBM ที่มีจำนวนราว 50 คน เขาได้แจกแจงจุดที่เป็นปัญหาใหญ่ทั้งหมดของ IBM ให้พวกเขาฟังดังนี้
- ลูกค้าไม่ไว้วางใจบริษัท เห็นได้จากลูกค้าให้คะแนนเรื่องคุณภาพของบริษัทในระดับต่ำ- การรีบร้อนกระจายอำนาจอย่างขาดความรอบคอบ- การตอบสนองต่อประเด็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเป็นไปอย่างเชื่องช้า- ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในการควบคุมกระบวนการการตลาดและการขาย- ระบบวัดผลงานที่สับสนและสร้างปัญหาขัดแย้งในหมู่พนักงาน ซึ่งสร้างปัญหาใหญ่เวลาปิดการขายกับลูกค้า- พันธมิตรของบริษัทมีจำนวนมากจนสับสน และหลายรายน่าสงสัยหรือกระทั่งไม่มีประโยชน์ต่อบริษัท
Gerstner ประกาศโครงการที่เรียกว่า "Operation Bear Hug" ซึ่งกำหนดให้ ผู้บริหารระดับสูงสุดทั้ง 50 คนนั้น แต่ละคนจะต้องออกไปเยี่ยมลูกค้ารายใหญ่สุดของบริษัทให้ได้อย่างน้อย 5 รายภายในเวลา 3 เดือน เพื่อค้นหาด้วยตัวเองว่า ความต้องการ ของลูกค้าคืออะไร และลูกค้ามีความไม่พอใจบริษัทในเรื่องใด แล้วรายงานต่อ Gerstner โดยตรง โครงการนี้นับเป็นก้าวแรกในความ พยายามลบล้างความรู้สึกติดลบที่ลูกค้ามี ต่อ IBM ว่าเป็นบริษัทที่ติดต่อธุรกิจด้วยยาก
Gerstner ยังประกาศิตให้ยุบเลิก Management Committee (MC) คณะกรรมการบริหารชุดเล็ก ซึ่งเป็นผู้ทำการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ ของบริษัท เพราะเห็นว่า เป็นแค่ตรายางมากกว่าจะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตัดสินใจอย่างแท้จริง
ในช่วงสัปดาห์แรกของการเป็น CEO Gerstner ยังได้พบปะกับบรรดาผู้นำในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และโทร คมนาคม เช่น Andy Grove แห่ง Intel Bill Gates จาก Microsoft และ John Malone แห่ง TCI หลายคนแนะให้ Gerstner เอา IBM ออกจากธุรกิจ PC และชิป โดยพูดเป็นนัยๆ ว่า IBM เชื่องช้าเกินกว่าจะแข่งขันในตลาดนั้นได้

สินค้าและการบริการ


กล้องถ่ายภาพ
กล้องดิจิตอล เช่น SONY,FUJI
กล้องวีดีโอ เช่น Edit 8 พีซี Laser
การ์ดความจำ
เครื่องพิมพ์ภาพถ่าย
เครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
เครื่องแม่ข่าย
ทินไคล์เอนท์/เทอร์มินอลไคล์เอนท์
แทปเบลตพีซี
โน๊ตบุ๊ค
เครื่องพิมพ์
กระดาษและสิ่งพิมพ์
เครื่องตัดสติกเกอร์
เครื่องพิมพ์ภาพถ่าย
ดอทเมทริกซ์
พลอตเตอร์
ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
การ์ดจอ
การ์ดเสียง
เคสคอมพิวเตอร์

การให้บริการของ IBM

1. Banner Rating รู้ผลการโฆษณาของคุณทันทีมีคนคลิกเท่าไหร่ ดูไหร่
2. Advertising ประชาสัมพันธ์บนเว็บทรูฮิต คุ้มค่าที่สุด
3. Toolbar ทั้งข้อมูลข่าวสาร ค้นหา โปรแกรม ความสะดวกรวมอยู่ที่นี่
4. Web Scanning บริการตรวจช่องโหว่ของเว็บเซิร์ฟรีเวอร์
5. Truehits Webscore ให้คะแนนเว็บที่ชอบและเขียนข้อความดีๆ บอกถึงเจ้าของเว็บได้
6. Truehits Barter เข้าร่วมกิจกรรม รับของรางวัลฟรีมากมาย
7. Realdev มุมพักนักอ่าน พื้นฐานสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์
8. Web Monitor ส่งข้อความถึงตรงมือถือคุณทันที เมื่อเว็บคุณดาวน์หรือถูก DOS
9. Webstat บริการวัดสถิติแบบพิเศษ และได้รับการประชาสัมพันธ์บนหน้า ทรูฮิตฟรี
10. Web Catalog โปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านหนาเว็บทรูฮิต ค่าใช้จ่ายวันละ 1 บาท

ประโยชน์ขององค์กรในสังคม

ไอบีเอ็มประกาศความมุ่งมั่น สร้างความดีตอบสังคมไทย ในโครงการ IBM BLUE CHARITY 2007 พร้อมร่วมมือบางจากน้ำมันพืชใช้แล้ว ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทยจำจัด จัดงาน “IBM Blue charity 2007” แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมองค์กรธุรกิจหรือ Corperate Social Responssibility (CRS) ประกาศสร้างจิตใต้สำนึกของพนักงานร่วมทำความดี ตอบแทนสังคมไทย
ไอบีเอ็มในฐานะเป็นองค์กรไอที ชั้นนำของโลก นอกจากการสร้างสรรค์ พัฒนา และผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศที่ล้าสมัยต่อการบริการที่ดีเลิศต่อแก่บริษัทชั้นนำต่างๆแล้ว ไอบีเอ็มยังยืนหยัดอยู่บนวิสัยทัศน์ที่ว่า การมีระบบบริหารหารจัดการอยู่บนค่านิยมที่ถูกต้องและการดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์เป็นวิถีที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์เกื้อกูลให้กับสังคมที่ไอบีเอ็มเข้าไปทำธุรกิจอยู่